“บ้านปลายอวน” ชุมชนในฝัน
ตามเส้นทางหมายเลข 4016 มุ่งหน้าจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชสู่อำเภอพรหมคีรี หลังจากไปกราบนมัสการ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และเที่ยวเลือกซื้อสินค้าของฝากพื้นเมือง และเช่าบูชาองค์พ่อจตุคาม-รามเทพ รุ่นต่างๆตามที่เพื่อนๆฝากกันมา เช่น รุ่นปัญญา ทรัพย์ทวี จัดสร้างโดย มหาวิทยาลัยชีวิตนครศรีธรรมราช ที่เป็นที่ต้องการของหลายๆคน อยากมีไว้สะสมและเก็บไว้บูชาตามความเชื่อและศรัทธารถวิ่งผ่านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชไป ประมาณ4-5 กิโลเมตร ก็เข้าสู่เขตอำเภอพรหมคีรี ด้านทิศตะวันตกของตัวอำเภอพรหมคีรี จรดเทือกเขาหลวง มองไกลๆเหมือนฉากภาพวาดที่วิจิตรตระการตายิ่งนัก ธรรมชาติช่างสรรค์สร้างความอุดมสมบูรณ์ ให้กับคนที่นี่ มีพร้อมพรั่งทั้ง อาหาร น้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม หรืออยู่อาศัย เพราะอากาศที่นี่ สดชื่น สูดลมหายใจได้เต็มปวด ไม่มีมลพิษจากท่อไอเสีย ไม่มีสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีเสียงดังรบกวนเหมือนชาวบ้านข้างสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ที่นี่ มีแต่ความสุขถนนคอนกรีตแคบๆ บริเวณสองข้างทางมีบ้านเรือนหลังน้อยใหญ่เรียงรายอย่างสงบและเรียบง่าย ดูสวยงามแปลกตาไปจากอดีตเมื่อ 15 ปีก่อนบ้าง แต่ยังแฝงไว้ด้วยความสุขที่สามารถสัมผัสได้จากสีหน้าและแววตาของชาวบ้านที่แสดงออกขณะต้อนรับแขกผู้มาเยือน บางคนอาจรู้สึกคุ้นหน้าคุ้นตาบ้าง แต่นึกไม่ออกว่าเป็นลูกหลานบ้านใคร ได้แต่มองแล้วยิ้มๆ พนมมือรับไหว้ แล้วทักทายตามมารยาทของเจ้าของหมู่บ้าน แววตาบ่งบอกความสงสัยอยู่ภายในใจลึกๆ ว่าลูกสาว หรือสะใภ้บ้านไหน... ช่างสวย งามทั้งรูปร่างหน้าตา กริยามารยาท และสัมผัสได้ถึงความเป็นมิตร ความเอ็นดูที่มีให้กับแขกผู้มาเยือนสวนยางพาราที่เขียวขจี สลับกับสวนผลไม้ หลากหลายชนิด หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า”สวนสมรม” คือการปลูกไม้ผลหลายชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ปลูกแซมลงไปในป่าธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเช่น มังคุด ทุเรียน สะตอ ลูกเนียง จำปาดะ ขนุน กล้วย ดอกดาหลาและพืชผักต่างๆ ประกอบกับ ทำเล ที่ตั้ง ของหมู่บ้านเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น น้ำตกพรหมโลก ที่ทำการชมรมเดินป่าท่องเทียวเชิงอนุรักษ์บ้านปลายอวน ตลอดเส้นทางเข้า หมู่บ้านปลายอวน ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะสีสันของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านปลายอวน สะท้อนเรื่องราวและคำบอกเล่าของหมู่บ้านในอดีต ที่อยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาธรรมชาติ และการพึงพาอาศัยกัน อยู่กันแบบเครือญาติ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันยิ่งมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์รายล้อมรอบหมู่บ้าน พื้นที่ภูเขาหลวงเป็นฉากเบื้องหลังของหมู่บ้าน ช่วงเช้าจะมีสายหมอกปกคลุมภูเขา สีเขียวของป่า สลับกับสีขาวของสายหมอก เสียงนกหลากหลายชนิดร้องสลับกัน เหมือนมีวงดนตรีขนาดใหญ่มาขับกล่อมอยู่กลางหุบเขานี้ ช่างดูงดงามเกินคำบรรยาย เหมือนเป็นหมู่บ้านในฝันของใครหลายๆคนเรื่องราวของชุมชนที่ได้ฟังมาน่าสนใจมาก ชุมชนบ้านปลายอวน ไม่ได้จัดอยู่ในสภาพที่ร่ำรวยทางด้านสภาพเศรษฐกิจ เกี่ยวเนื่องเพราะชาวบ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำสวนยาง สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และการปลูกผัก เพื่อสร้างเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ แต่คุณภาพชีวิตของผู้คนที่แห่งนี้ก็มีความสุขตามอัตภาพ เพราะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง ที่สำคัญคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่มีหนี้สินแต่สำหรับความรู้สึกของชาวบ้านในชุมชนบ้านปลายอวน ซึ่งส่วนใหญ่ตอบเป็นเสียงเดียวกันและอิ่มด้วยรอยยิ้มบนใบหน้าว่า สิ่งที่ภาคภูมิใจและเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทุกคนที่บ้านแห่งนี้เดินหน้าเพื่อชุมชน ในภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูงเช่นนี้ คือความพยายามที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้ นอกเหนือจากการช่วยเหลือจากรัฐในลักษณะอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะการสร้างกิจกรรมเพื่อให้คนในหมู่บ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยเฉพาะเรื่องของการประหยัดอดออม มีทั้งการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ปลูกพืชผักสวนครัว และผักพื้นบ้านต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน ปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เช่น ผักเหรียง บวบหวาน ฟัก ผักหวาน ผักกูด มะเขือ พริก ตะไคร้ ถั่วพู ตำลึง ชาวบ้านมีกินมีใช้อย่างเพียงพอ มีอาหารสำรอง เหลือกินเหลือใช้จึงจะนำไปขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว และยังเป็นการใช้พื้นที่ แรงงาน เวลา และสิ่งที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เปรียบเสมือนมีซุปเปอร์มาร์เก็ตประจำบ้าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีตู้เย็นไว้แช่กับข้าว แต่เมื่อนึกอยากจะรับประทานอะไรก็สามารถเก็บผักจากต้นมารับประทานได้เลย เศษอาหารที่เหลือก็สามารถนำมาให้เป็นอาหารปลาหรือเป็ด ไก่ ที่เลี้ยงไว้ เศษไม้ก็นำมาเผาเป็นถ่านไว้ใช้ได้ จะทำอย่างไรให้ 1 มื้อนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย ถึงแม้ชาวบ้านจะไม่มีรายได้เข้ามาในครอบครัว แต่ก็สามารถอยู่ได้โดยไม่มีรายจ่ายเช่นกันเหตุผลหลักที่ชาวบ้านพยายามต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนให้ชาวบ้านเห็นการออมและการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะการทำเกษตรกรรมที่มีผลผลิตไม่แน่นอนเนื่องจากปัจจัยภายนอกจากสภาพดินฟ้าอากาศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการอยู่รอดอย่างเหมาะสมกับสภาพของชุมชน เน้นให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีคุณค่า ปัจจัยที่ทำให้คนบ้านปลายอวนเดินหน้าได้ถึงทุกวันนี้เพราะคนส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่โดยกำเนิดไม่มีคนนอกเข้ามาอาศัย ซึ่งตนมองว่าทำให้คนที่นี่มีความรู้สึกสำนึกรักบ้านเกิด แต่อดีตดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไม่เคยขาดน้ำ เสมือนสายเลือดสำคัญในการหล่อเลี้ยงชุมชน เพราะมีแหล่งต้นน้ำสำคัญจากเทือกเขาหลวง ในการทำเกษตรกรรม ทำสวนยาง สวนผลไม้ ได้ผลผลิตดีมาโดยตลอด และในลำคลองยังมีปลาหลากชนิด ให้ชาวบ้านปลายอวนจับมาจำหน่าย แปรรูปและประกอบอาหารได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้กิจกรรมที่เสริมสร้างให้คนบ้านปลายอวนรักสามัคคี เหนียวแน่นกันมากขึ้น อย่างน่าประทับใจ คือ ทุกวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี จะเป็นวันรวมญาติและ วันรดน้ำผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน วันแรม 14-15 ค่ำ เดือน 10 วันสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นวันทำบุญให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เสมือนสายใยแห่งความรัก และความศรัทธาที่ก่อเกิดภายในชุมชน อย่างมีความสุข และล้วนเกิดขึ้นจากการสำนึกรักบ้านเกิด ของคนบ้านปลายอวนทั้งสิ้น ไม่ว่าพี่น้อง ลูกหลานของชาวบ้านปลายอวน จะออกไปทำงาน หรือประกอบอาชีพ มีครอบครัวอยู่ที่ใดก็ตาม ในวันดังกล่าว ต้องกลับมาบ้านเกิด ด้วยจิตสำนึกของทุกคนที่ได้รับการปลูกฝัง จากรุ่นสู่รุ่นไออุ่นแห่งความสุขจากเครือญาติ ผสมกับกลิ่นอายธรรมชาติที่รายล้อม ทุกครั้งที่กลับเข้ามาในชุมชนบ้านปลายอวนแห่งนี้ มีความสุข สดชื่น หายใจสูดอากาศลึกๆ กักตุนความสุขไว้เต็มปอดอยากจะเอาไปฝากเพื่อนๆในเมืองที่ยังคงนั่งทำงาน จดจ่ออยู่กับตัวเลข การเงิน และจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่วันละ 7-8 ชั่วโมง สีเขียวกับความสดชื่นจากธรรมชาติไม่เคยได้สัมผัสจับต้องได้แต่มองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จากการไปท่องเที่ยวในโลกของอินเตอร์เน็ต...เมือย้อนมองกลับไปอีกฝากของสังคมเมองที่มีปัญหาอยู่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าครองชีพ การเดินทาง สุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อแต่ละคนมีปัญหาเกิดขึ้นและหากไม่มีชุมชนที่ดีรองรับ คนเราอาจจะแก้ปัญหาในทางที่ผิดได้ เพราะเราไม่สามารถแก้ปัญหาของเราที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองได้ทุกครั้ง การมีชุมชนจะช่วยให้เรามีที่ปรึกษา มีแบบอย่างการดำเนินชีวิตของผู้อื่น ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจแก้ปัญหา ให้กับตนเองได้ดีขึ้น ชุมชนจึงเป็นเหมือนที่รองรับภาระทางกายภาพ ภาระทางใจของคนในชุมชน เมื่อคนมีปัญหาครอบครัว ปัญหาความขัดแย้ง แทนที่จะต้องไปหาคนนอกชุมชน ก็สามารถให้คำปรึกษากันเองได้ภายในชุมชนก่อนการขาดความเป็นชุมชน จะทำให้เส้นทางการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ถูกตัดขาด เพราะคนปฏิสัมพันธ์กันเองอย่างลึกซึ้งทางความคิดและพฤติกรรมมีน้อยลง มีความสัมพันธ์อย่างตื้นเขิน คนในเมืองแม้อยู่บ้านติดกันก็มักจะไม่รู้จักกัน คนในชนบทก็เหลือแต่เด็กและคนแก่ แต่ละคนจึงอยู่ในสภาพต่างคนต่างอยู่ แต่ละคนก็มุ่งทำงานหาเงินและตอบสนองสิ่งที่ตัวเองสนใจ คนในสังคมรับในสิ่งที่สื่อมวลชนและสิ่งที่ออกมาจากแหล่งศูนย์กลางมอบให้ เกิดการถ่ายเทวัฒนธรรมใหม่ที่มีลักษณะสากลคล้ายคลึงกันทั่วประเทศ เช่น การแต่งกายเลียนแบบดารา การร้องเพลง ๆ เดียวกัน ดูหนังเรื่องเดียวกัน ดูรายการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นรายการข่าว ละคร และเกมโชว์ ต่างก็ให้ความสนใจ กับจอตู้สี่เหลี่ยม มากกว่าสนใจกันและกันเสียอีก ทำให้แม้กระทั่งคนในครอบครัวเดียวกันเอง ก็ขาดการปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ขาดความเข้าใจกัน ขาดความสนใจกันอย่างแท้จริง หากสภาพครอบครัว ยังมีความสัมพันธ์อย่างหละหลวมเช่นนี้ สภาพความเป็นชุมชนยิ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ขาดการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม มีแต่เพียงการรับวัฒนธรรมจากที่ต่าง ๆ ภายนอกและละเลยวัฒนธรรมเดิมของตนความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและการแข่งขัน เพื่อความอยู่รอดในสังคมที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีคนจำนวนน้อยสนใจผู้อื่นที่อยู่นอกขอบเขตครอบครัวและกลุ่มเพื่อนของตน คนจำนวนไม่น้อยจึงดำเนินชีวิตอย่างไร้ที่ปรึกษา คนที่มีปัญหาทางจิตใจไม่มีช่องทางระบาย ไม่มีกิจกรรมชุมชนให้ผ่อนคลาย ทำให้คนในสังคมจำนวนมากเกิดความเครียด เกิดความว้าเหว่เปลี่ยวเหงาในจิตใจ เพราะความเพิกเฉยที่คนในสังคมมีให้ต่อกัน ทำให้หลายคนอาจตัดสินใจผิดในการดำเนินชีวิตและไม่สามารถแก้ปัญหาชีวิตด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อนึกถึงปัญหาของสังคมเมืองที่ประสบมา ทำให้รู้ว่าตัวเราเองก็เก่งที่สามารถใช้ชีวิตแบบชาวเมืองอยู่ได้นานเป็นสิบปี ทำให้เข้มแข็งขึ้น มองหลายสิ่งหลายอย่างได้อีกหลากหลายมุมมอง ระวังตัวเองมากขึ้น เพราะโลกนี้ไม่ได้สวยงามเหมือนภาพเบื้องหน้าที่เรามองอยู่ข้ามสะพาน ไม้เก่าๆ ชะเง้อมองลงไปดู ลำธารเบื้องล่าง ที่น้ำใส มองเห็นก้อนกรวดหลากสี ปลาน้อยใหญ่แหวกว่ายไปมา แม้แขนจะเริ่มล้า เพราะหิ้วขนม เสื้อผ้าของฝากมากมายเข้าบ้าน แต่พอผ่านลำธารย่างก้าวสู่ลานบ้าน ที่เคยวิ่งเล่นสมัยเด็กๆ ความสดชื่นกระชุ่มกระชวย กลับมาอีกครั้ง ถึงกับถอดรองเท้าเดินสัมผัสทรายละเอียดที่เคยเหยียบย่ำ วิ่งเล่น เกลือกกลิ้งอยู่หน้าบ้านยามฝนตก ย้อนถึงถึงวัยเด็กที่ซนเหมือนลิงทโมน กับพี่ชาย ลานบ้าน ยังอยู่ในสภาพเดิม เพียงแต่ต้นไม้จะโตสูงขึ้น และแม่เอาไม้ดอกไม้ประดับ หลากหลายพันธ์มาปลูกมากขึ้น แนวต้นชบาที่ปลุกเป็นรั้วรอบบ้านก็ยังอยู่ ออกดอกบานสะพรั่ง ดอกเข็มสีแดงข้างอ่างล้างเท้า ริมทางขึ้นบันใดบ้าน ถูกตัดตดแต่งเป็นระเบียบ แม่ขยายพันธ์กล้วยไม้แขวนไว้ ทั่วระเบียงบ้านเสียงเจ้าโทนหมาพันธุ์พื้นบ้านที่ พี่ชายเอามาเลี้ยงไว้ ส่งสัญญาณให้สมาชิกบนเรือนรับทราบ และลงมาต้อนรับ หลานชายสองคน รีบวิ่งมาสวัสดีและช่วยหิ้วถุงขนม ของฝากขึ้นเรือน พี่สะใภ้ยกน้ำมาให้ดื่ม และพูดคุยกับพ่อ แม่ พี่ชาย ร วมทั้งหลานๆ อย่างสนุกสนาน ปีที่ผ่านมา หลานชายคนเด็กพึ่งจะคลานได้ ตอนกลับมาเดือนสิบปีก่อน แต่มารอบนี้ วิ่งทั่วบ้านคุยอ้อแอ้ ฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ปู่กับย่า ก็ช่วยกันแปลสื่อความหมาย กันอย่างมีความสุข ในความน่ารักน่าเอ็นดูของหลานๆ พี่ชายกับพี่สะใภ้ยังคงอยู่บนเรือนใหญ่กับพ่อแม่ และตื่นเช้าตรู่ไปกรีดยาง พ่อกับแม่ ก็ช่วยกันเลี้ยงหลาน หุงหาอาหารเตรียมไว้ใส่บาตรตอนเช้า และเตรียมไว้ให้ลูกหลานรับประทาน หลังจากกลับมาจากกรีดยาง นอกจากนั้นพ่อก็จะปลูกผัก รดน้ำผักข้างบ้าน ในยามเช้าบ้าง เป็นการออกกำลังกายไปในตัว ครอบครัวจึงมีเวลาอยู่ด้วยกัน และลดค่าใช้จ่าย สุขภาพก็แข็งแรง สมบูรณ์ ผักที่ปลูกก็ปลอดสารพิษ และได้รับประทานผักสดทุกวัน ผลไม้ในสวนก็มีให้รับประทานทุกฤดู บางวันเกือบจะไม่ได้ใช้เงินในการซื้อหาอาหารด้วยซ้ำ นอกจากของใช้ภายในบ้านที่พี่สะใภ้ จะเข้ามาในตลาดแล้วซื้อไปเก็บไว้ บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในครัวเรือน เช่น สบู่ ยาสระผม น้ำยาลางจาน น้ำยาซักผ้า พี่สะใภ้กับแม่ ก็ไปเข้ากลุ่มแม่บ้าน ที่มีการจัดอบรม โดยมีวิทยากรของรัฐมาอบรม ถ่ายทอดวิธีการผลิตให้ด้วยความพร้อมหลายๆด้านของครัวครัว และสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ดี นึกภาวนาว่าเมื่อไหร่จะมีคำสั่งให้ย้ายมาประจำการในตัวอำเภอพรหมคีรี จะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวและธรรมชาติที่สวยงาม แม้จะรู้สึกสำนึกรักบ้านเกิด แต่บางครั้ง ภาระและหน้าที่ก็ยังต้องให้เรารอต่อไป ไม่นานเกินรอ เราจะกลับมารับใช้บ้านเกิดอีกครั้ง…
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เรื่องน่าสนใจ"พลูปากหราม พรหมคีรี"
สมัยก่อนชาวนครศรีธรรมราชนิยมกินหมาก ในแต่ละวันกินไม่น้อยกว่าสามคำ บางคนก็กินไม่ขาดปาก จนปากลิ้น ฟันแดง นานๆเข้าจากฟันแดงก็กลายเป็นฟันดำ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกฟันดำว่า "ฟันงาม" ผู้ที่นิยมกินหมากก็อยากจะให้ฟันของตนงาม ก็จะเสาะหา หมากและพลูที่มีคุณภาพและรสชาติดี ถูกปาก นั่นก็คือ "พลูปากหราม" สำหรับพลูที่ใช้กินหมากมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น พลูเผ็ด พลูลูกยาว แต่พลูที่นิยมมากที่สุดคือพลูปากหราม เพราะกินแล้วฟันงาม
บ้านปากหราม เป็นชื่อดั้งเดิมของบ้านนอกท่า มีอาณาบริเวณคลอบคลุมบ้านปลายอวนกับบ้านอ้ายเขียว อยู่ในเขตตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บ้านปากหราม ตั้งอยู่เชิงเขา อยู่ใกล้แหล่งน้ ธรรมชาติสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี พลูจึงเจริญงอกงามดีเป็นพิเศษกว่าที่อื่น และรสชาติถูกปากชาวนคร
ลักษณะของพลูปากหราม ใบจะเขียวอ่อน รูปใบสวยงามคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่หนาเกินไป ใบพลูกรอบน่าเคี้ยวขนาดก็พอดีคำ รสเผ็ดพอดี ไม่เผ็ดมากเหมือนพลูเผ็ด และไม่จือเหมือนพลูก้านยาว
ในปัจจุบันบ้านปากหราม จะไม่ค่อยมีคนรู้จัก จะมีก็คนเก่าแก่ในพื้นที่เรียกบ้าง แต่จะเปลี่ยนจากปากหรามเป็นสวนหราม ซึ่งสวนของคุณแม่ก็มีอยู่ที่นี่ด้วย และเพื่อให้พลูปากหรามยังคงมีอยู่ คู่กับชาวพรหมคีรี หลายครัวเรือนที่สนใจปลูก โดยปลูกลงไปในสวนสมรม ที่มีอยู่ ให้เถาว์พลูยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่ในสวนที่มีอยู่ เป็นการเสริมรายได้อีกทาง ซึ่งราคาจำหน่ายพลูปากหรามในปัจจุบัน ขายเป็นกำ กำละ ७-१० บาท แต่ละกำจะมีพลูอยู่4แถว แถวละ १० ใบ และสามารถเก็บใบพลูได้ตลอดทั้งปี ทิ้งช่วงระยะห่างบ้างให้พลูแตกยอดใหม่ ก็ประมาณ ३ เดือน พลูปากหราม สามารถเสริมรายได้อย่างงาม กับคนที่เห็นคุณณ่าในการอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดนี้ไว้
บ้านปากหราม เป็นชื่อดั้งเดิมของบ้านนอกท่า มีอาณาบริเวณคลอบคลุมบ้านปลายอวนกับบ้านอ้ายเขียว อยู่ในเขตตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บ้านปากหราม ตั้งอยู่เชิงเขา อยู่ใกล้แหล่งน้ ธรรมชาติสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี พลูจึงเจริญงอกงามดีเป็นพิเศษกว่าที่อื่น และรสชาติถูกปากชาวนคร
ลักษณะของพลูปากหราม ใบจะเขียวอ่อน รูปใบสวยงามคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่หนาเกินไป ใบพลูกรอบน่าเคี้ยวขนาดก็พอดีคำ รสเผ็ดพอดี ไม่เผ็ดมากเหมือนพลูเผ็ด และไม่จือเหมือนพลูก้านยาว
ในปัจจุบันบ้านปากหราม จะไม่ค่อยมีคนรู้จัก จะมีก็คนเก่าแก่ในพื้นที่เรียกบ้าง แต่จะเปลี่ยนจากปากหรามเป็นสวนหราม ซึ่งสวนของคุณแม่ก็มีอยู่ที่นี่ด้วย และเพื่อให้พลูปากหรามยังคงมีอยู่ คู่กับชาวพรหมคีรี หลายครัวเรือนที่สนใจปลูก โดยปลูกลงไปในสวนสมรม ที่มีอยู่ ให้เถาว์พลูยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่ในสวนที่มีอยู่ เป็นการเสริมรายได้อีกทาง ซึ่งราคาจำหน่ายพลูปากหรามในปัจจุบัน ขายเป็นกำ กำละ ७-१० บาท แต่ละกำจะมีพลูอยู่4แถว แถวละ १० ใบ และสามารถเก็บใบพลูได้ตลอดทั้งปี ทิ้งช่วงระยะห่างบ้างให้พลูแตกยอดใหม่ ก็ประมาณ ३ เดือน พลูปากหราม สามารถเสริมรายได้อย่างงาม กับคนที่เห็นคุณณ่าในการอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดนี้ไว้
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
อำเภอพรหมคีรี
“ ถิ่นผลไม้ดก น้ำตกสะอาด ธรรมชาติล้ำค่า หลากภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบสานวัฒนธรรม ” คำขวัญประจำอำเภอพรหมคีรี ซึ่งเป็นอำเภอที่มีความสวยงามทางธรรมชาติมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช ที่มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนี้มีความชุมชื้นสูง เป็นแหล่งทรัพยากร ต้นน้ำลำธาร หลายสาย ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกพรหมโลก น้ำตก อ้ายเขียว น้ำตกสองรัก และน้ำตกที่พึ่งค้นพบคือคือ น้ำตกพรหมประทาน น้ำตกพรหมพิมาน และน้ำตกพิมานเมฆ ลำคลองทุกสายทุกสายที่ไหลมาหล่อเลี้ยง ให้ความชุมชื้นตลอดทั้งปี พรหมคีรีเป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีคนอาศัยมากกว่า 200 ปี สภาพพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติมากที่สุด จนกระทั่ง ผลไม้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ส่งออกไปขายทั่วโลก นั่นก็คือ “มังคุดพรหมคีรี” พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ นอกจากปลูกมังคุดแล้วยังมี ยางพารา และผลไม้อื่นๆมากมาย เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด จำปาดะ สะตอ หมาก พลูฯลฯ หรือที่ปลูกรวมกันหลายๆชนิด เรียกรวมกันว่า “สวนสมรม”
ชาวพรหมคีรีสมัยก่อน จะปลูกผลไม้ไว้กินเอง กับหาของป่าล่าสัตว์ จับปลาในห้วย หนองคลอง บึง เจ็บป่วยก็รักษาด้วยยาสมุนไพรในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่นศูนย์รักษาผู้ถูกงูกัดวัดพรหมโลก ที่รักษาด้วยยาสมุนไพรล้วนๆ สำหรับการเดินทางติดต่อก็ใช้เกวียน และเรือขุด ซึ่งเป็นเรือที่ทำมาจากท่อนซุงขนาดใหญ่ ขุดเจาะ จนเป็นรูปเรือโดยไม่มีรอยต่อ แล้วล่องไปตามลำคลอง เพื่อลำเลียงผลไม้ ไปแลกเปลี่ยนกับข้าว ปลา อาหารทะเล กับชาวอำเภอ ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ ซึ่ง เรียกรวมๆว่า “ชาวนอก” ส่วนชาวพรหมคีรี ลานสกา รวมทั้งชาวชนบทที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่แถบทิศตะวันออกของ เขาหลวง ซึ่งมีอาชีพทำไร่ ทำสวนผลไม้ ก็ถูกเรียกว่า “ชาวเหนือ” ส่วนพวกที่อาศัย อยู่ระหว่างต้นน้ำ กับปลายน้ำ เรียกว่า “ชาวเมือง “ซึ่งหมายถึงอำเภอเมืองในปัจจุบัน
“ ถิ่นผลไม้ดก น้ำตกสะอาด ธรรมชาติล้ำค่า หลากภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบสานวัฒนธรรม ” คำขวัญประจำอำเภอพรหมคีรี ซึ่งเป็นอำเภอที่มีความสวยงามทางธรรมชาติมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช ที่มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนี้มีความชุมชื้นสูง เป็นแหล่งทรัพยากร ต้นน้ำลำธาร หลายสาย ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกพรหมโลก น้ำตก อ้ายเขียว น้ำตกสองรัก และน้ำตกที่พึ่งค้นพบคือคือ น้ำตกพรหมประทาน น้ำตกพรหมพิมาน และน้ำตกพิมานเมฆ ลำคลองทุกสายทุกสายที่ไหลมาหล่อเลี้ยง ให้ความชุมชื้นตลอดทั้งปี พรหมคีรีเป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีคนอาศัยมากกว่า 200 ปี สภาพพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติมากที่สุด จนกระทั่ง ผลไม้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ส่งออกไปขายทั่วโลก นั่นก็คือ “มังคุดพรหมคีรี” พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ นอกจากปลูกมังคุดแล้วยังมี ยางพารา และผลไม้อื่นๆมากมาย เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด จำปาดะ สะตอ หมาก พลูฯลฯ หรือที่ปลูกรวมกันหลายๆชนิด เรียกรวมกันว่า “สวนสมรม”
ชาวพรหมคีรีสมัยก่อน จะปลูกผลไม้ไว้กินเอง กับหาของป่าล่าสัตว์ จับปลาในห้วย หนองคลอง บึง เจ็บป่วยก็รักษาด้วยยาสมุนไพรในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่นศูนย์รักษาผู้ถูกงูกัดวัดพรหมโลก ที่รักษาด้วยยาสมุนไพรล้วนๆ สำหรับการเดินทางติดต่อก็ใช้เกวียน และเรือขุด ซึ่งเป็นเรือที่ทำมาจากท่อนซุงขนาดใหญ่ ขุดเจาะ จนเป็นรูปเรือโดยไม่มีรอยต่อ แล้วล่องไปตามลำคลอง เพื่อลำเลียงผลไม้ ไปแลกเปลี่ยนกับข้าว ปลา อาหารทะเล กับชาวอำเภอ ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ ซึ่ง เรียกรวมๆว่า “ชาวนอก” ส่วนชาวพรหมคีรี ลานสกา รวมทั้งชาวชนบทที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่แถบทิศตะวันออกของ เขาหลวง ซึ่งมีอาชีพทำไร่ ทำสวนผลไม้ ก็ถูกเรียกว่า “ชาวเหนือ” ส่วนพวกที่อาศัย อยู่ระหว่างต้นน้ำ กับปลายน้ำ เรียกว่า “ชาวเมือง “ซึ่งหมายถึงอำเภอเมืองในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)