สมัยก่อนชาวนครศรีธรรมราชนิยมกินหมาก ในแต่ละวันกินไม่น้อยกว่าสามคำ บางคนก็กินไม่ขาดปาก จนปากลิ้น ฟันแดง นานๆเข้าจากฟันแดงก็กลายเป็นฟันดำ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกฟันดำว่า "ฟันงาม" ผู้ที่นิยมกินหมากก็อยากจะให้ฟันของตนงาม ก็จะเสาะหา หมากและพลูที่มีคุณภาพและรสชาติดี ถูกปาก นั่นก็คือ "พลูปากหราม" สำหรับพลูที่ใช้กินหมากมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น พลูเผ็ด พลูลูกยาว แต่พลูที่นิยมมากที่สุดคือพลูปากหราม เพราะกินแล้วฟันงาม
บ้านปากหราม เป็นชื่อดั้งเดิมของบ้านนอกท่า มีอาณาบริเวณคลอบคลุมบ้านปลายอวนกับบ้านอ้ายเขียว อยู่ในเขตตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บ้านปากหราม ตั้งอยู่เชิงเขา อยู่ใกล้แหล่งน้ ธรรมชาติสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี พลูจึงเจริญงอกงามดีเป็นพิเศษกว่าที่อื่น และรสชาติถูกปากชาวนคร
ลักษณะของพลูปากหราม ใบจะเขียวอ่อน รูปใบสวยงามคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่หนาเกินไป ใบพลูกรอบน่าเคี้ยวขนาดก็พอดีคำ รสเผ็ดพอดี ไม่เผ็ดมากเหมือนพลูเผ็ด และไม่จือเหมือนพลูก้านยาว
ในปัจจุบันบ้านปากหราม จะไม่ค่อยมีคนรู้จัก จะมีก็คนเก่าแก่ในพื้นที่เรียกบ้าง แต่จะเปลี่ยนจากปากหรามเป็นสวนหราม ซึ่งสวนของคุณแม่ก็มีอยู่ที่นี่ด้วย และเพื่อให้พลูปากหรามยังคงมีอยู่ คู่กับชาวพรหมคีรี หลายครัวเรือนที่สนใจปลูก โดยปลูกลงไปในสวนสมรม ที่มีอยู่ ให้เถาว์พลูยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่ในสวนที่มีอยู่ เป็นการเสริมรายได้อีกทาง ซึ่งราคาจำหน่ายพลูปากหรามในปัจจุบัน ขายเป็นกำ กำละ ७-१० บาท แต่ละกำจะมีพลูอยู่4แถว แถวละ १० ใบ และสามารถเก็บใบพลูได้ตลอดทั้งปี ทิ้งช่วงระยะห่างบ้างให้พลูแตกยอดใหม่ ก็ประมาณ ३ เดือน พลูปากหราม สามารถเสริมรายได้อย่างงาม กับคนที่เห็นคุณณ่าในการอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดนี้ไว้
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
อำเภอพรหมคีรี
“ ถิ่นผลไม้ดก น้ำตกสะอาด ธรรมชาติล้ำค่า หลากภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบสานวัฒนธรรม ” คำขวัญประจำอำเภอพรหมคีรี ซึ่งเป็นอำเภอที่มีความสวยงามทางธรรมชาติมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช ที่มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนี้มีความชุมชื้นสูง เป็นแหล่งทรัพยากร ต้นน้ำลำธาร หลายสาย ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกพรหมโลก น้ำตก อ้ายเขียว น้ำตกสองรัก และน้ำตกที่พึ่งค้นพบคือคือ น้ำตกพรหมประทาน น้ำตกพรหมพิมาน และน้ำตกพิมานเมฆ ลำคลองทุกสายทุกสายที่ไหลมาหล่อเลี้ยง ให้ความชุมชื้นตลอดทั้งปี พรหมคีรีเป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีคนอาศัยมากกว่า 200 ปี สภาพพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติมากที่สุด จนกระทั่ง ผลไม้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ส่งออกไปขายทั่วโลก นั่นก็คือ “มังคุดพรหมคีรี” พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ นอกจากปลูกมังคุดแล้วยังมี ยางพารา และผลไม้อื่นๆมากมาย เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด จำปาดะ สะตอ หมาก พลูฯลฯ หรือที่ปลูกรวมกันหลายๆชนิด เรียกรวมกันว่า “สวนสมรม”
ชาวพรหมคีรีสมัยก่อน จะปลูกผลไม้ไว้กินเอง กับหาของป่าล่าสัตว์ จับปลาในห้วย หนองคลอง บึง เจ็บป่วยก็รักษาด้วยยาสมุนไพรในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่นศูนย์รักษาผู้ถูกงูกัดวัดพรหมโลก ที่รักษาด้วยยาสมุนไพรล้วนๆ สำหรับการเดินทางติดต่อก็ใช้เกวียน และเรือขุด ซึ่งเป็นเรือที่ทำมาจากท่อนซุงขนาดใหญ่ ขุดเจาะ จนเป็นรูปเรือโดยไม่มีรอยต่อ แล้วล่องไปตามลำคลอง เพื่อลำเลียงผลไม้ ไปแลกเปลี่ยนกับข้าว ปลา อาหารทะเล กับชาวอำเภอ ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ ซึ่ง เรียกรวมๆว่า “ชาวนอก” ส่วนชาวพรหมคีรี ลานสกา รวมทั้งชาวชนบทที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่แถบทิศตะวันออกของ เขาหลวง ซึ่งมีอาชีพทำไร่ ทำสวนผลไม้ ก็ถูกเรียกว่า “ชาวเหนือ” ส่วนพวกที่อาศัย อยู่ระหว่างต้นน้ำ กับปลายน้ำ เรียกว่า “ชาวเมือง “ซึ่งหมายถึงอำเภอเมืองในปัจจุบัน
“ ถิ่นผลไม้ดก น้ำตกสะอาด ธรรมชาติล้ำค่า หลากภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบสานวัฒนธรรม ” คำขวัญประจำอำเภอพรหมคีรี ซึ่งเป็นอำเภอที่มีความสวยงามทางธรรมชาติมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาหลวงนครศรีธรรมราช ที่มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร ทำให้สภาพพื้นที่บริเวณนี้มีความชุมชื้นสูง เป็นแหล่งทรัพยากร ต้นน้ำลำธาร หลายสาย ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกพรหมโลก น้ำตก อ้ายเขียว น้ำตกสองรัก และน้ำตกที่พึ่งค้นพบคือคือ น้ำตกพรหมประทาน น้ำตกพรหมพิมาน และน้ำตกพิมานเมฆ ลำคลองทุกสายทุกสายที่ไหลมาหล่อเลี้ยง ให้ความชุมชื้นตลอดทั้งปี พรหมคีรีเป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีคนอาศัยมากกว่า 200 ปี สภาพพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติมากที่สุด จนกระทั่ง ผลไม้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ส่งออกไปขายทั่วโลก นั่นก็คือ “มังคุดพรหมคีรี” พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ นอกจากปลูกมังคุดแล้วยังมี ยางพารา และผลไม้อื่นๆมากมาย เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด จำปาดะ สะตอ หมาก พลูฯลฯ หรือที่ปลูกรวมกันหลายๆชนิด เรียกรวมกันว่า “สวนสมรม”
ชาวพรหมคีรีสมัยก่อน จะปลูกผลไม้ไว้กินเอง กับหาของป่าล่าสัตว์ จับปลาในห้วย หนองคลอง บึง เจ็บป่วยก็รักษาด้วยยาสมุนไพรในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่นศูนย์รักษาผู้ถูกงูกัดวัดพรหมโลก ที่รักษาด้วยยาสมุนไพรล้วนๆ สำหรับการเดินทางติดต่อก็ใช้เกวียน และเรือขุด ซึ่งเป็นเรือที่ทำมาจากท่อนซุงขนาดใหญ่ ขุดเจาะ จนเป็นรูปเรือโดยไม่มีรอยต่อ แล้วล่องไปตามลำคลอง เพื่อลำเลียงผลไม้ ไปแลกเปลี่ยนกับข้าว ปลา อาหารทะเล กับชาวอำเภอ ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ ซึ่ง เรียกรวมๆว่า “ชาวนอก” ส่วนชาวพรหมคีรี ลานสกา รวมทั้งชาวชนบทที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่แถบทิศตะวันออกของ เขาหลวง ซึ่งมีอาชีพทำไร่ ทำสวนผลไม้ ก็ถูกเรียกว่า “ชาวเหนือ” ส่วนพวกที่อาศัย อยู่ระหว่างต้นน้ำ กับปลายน้ำ เรียกว่า “ชาวเมือง “ซึ่งหมายถึงอำเภอเมืองในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)